10 เทคนิคการขับรถปลอดภัยในหน้าฝน
หน้าฝนเป็นปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน เพราะฝนที่ตกลงมาทำให้ถนน...
อ่านต่อ
การขับรถในช่วงหน้าฝน เป็นช่วงเวลาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น ขณะที่ฝนตกนอกจากจะทำให้ทัศนะวิสัยในการมองแย่ลงแล้ว ความเสี่ยงที่จะเกิดการลื่นไถลก็ยังมีอยู่ตลอดเวลาแม้กระทั่งฝนหยุดตก
อาการเหินน้ำคือ
อาการลอยตัวของหน้ายางไม่สัมผัสกับพื้นถนนหรือไม่กดลงพื้นถนนเนื่องจากมีน้ำเป็นฟิล์มกั้นกลางมีผลทำให้รถลื่นไถลเสียการทรงตัว ซึ่งอาจจะเกิดได้บนถนนที่มีน้ำท่วมขัง หรือบนถนนที่มีแอ่งน้ำ
3 สาเหตุที่เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดอาการเหินน้ำ
1. ความเร็ว
ในขณะที่รถจอดนิ่งน้ำหนักของรถทั้งหมดจะกดลงที่ยางทั้ง4เส้น ขณะที่รถเคลื่อนตัวน้ำหนักของรถส่วนหนึ่งจะถูกถ่ายเทไปในทิศทางที่รถเคลื่อนที่ น้ำหนักของรถที่จะกดลงยางทั้ง4เส้นก็จะลดลง เพราะฉะนั้นความเร็วยิ่งมากเท่าไรแรงกดของยางที่ลงบนพื้นถนนก็ยิ่งน้อยเท่านั้น
2.ยาง
หน้ายางมีหน้าที่ยึดเกาะระหว่างตัวรถกับพื้นถนน แต่หน้าที่หลักที่สำคัญของดอกยางคือการรีดน้ำ ออกจากหน้ายาง ประสิทธิภาพในการรีดน้ำจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความลึกของร่องดอกยาง และลายของดอกยาง แต่ก็ยังไม่มียางรุ่นใดในโลกที่สามารถรีดน้ำได้ทั้ง 100%
3.ระดับความลึกของน้ำ
ระยะห่างระหว่างหน้ายางกับพื้นถนนจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับระดับความลึกน้ำที่รถแล่นผ่าน
การป้องกัน
3 ปัจจัยหลักที่จะทำให้เกิดอาการเหินน้ำนั้นมันเป็นสิ่งที่ตัวผู้ขับขี่เองควบคุมและหลีกเลี่ยงมันได้
- ควบคุมความเร็ว ปรับความเร็วให้เหมาะสมกับสภาพถนนและสถานการณ์ ช่วงเวลาที่ฝนตกและหลังฝนตกเป็นช่วงเวลาที่ไม่ควรใช้ความเร็วอยู่แล้ว
- หมั่นดูแลตรวจสอบสภาพยางและลมยางอย่างสม่ำเสมอ ลมยางที่ต่ำกว่ามาตรฐานมีผลทำให้ประสิทธิภาพในการรีดน้ำลดลง
- มีการสังเกตการณ์ พื้นถนน แอ่งน้ำขังบนถนนที่เราจะไป คาดการณ์ในจุดอับสายที่มองไม่เห็นในระยะไกลเช่น หลังเนิน หลังสะพาน หลังโค้ง หรืออุโมงค์เพราะอาจจะมีแอ่งน้ำแอบแฝงอยู่เพื่อปรับความเร็วให้เหมาะสม
การแก้ไข
ในขณะที่เกิดอาการลื่นไถลวิธีที่ดีที่สุดอันดับแรกคือ ห้ามเบรกเพราะการเบรกมันเป็นการเพิ่มความรุนแรงในการลื่นไถลของรถให้มีมากขึ้น ให้ถอนคันเร่ง ควบคุมพวงมาลัยให้มั่น
การแก้ไขเป็นแค่เพียงวิธีผ่อนหนักให้เป็นเบาเท่านั้น มิใช่วิถีทางของการขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุซึ่งหัวใจหลักสำคัญในการขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุคือการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น
คมจินต์ อินทรหะ
วิทยากร เทคนิคการขับรถเชิงป้องกันอุติเหตุ เซฟ ไดรฟเวอร์ เอดูเคชั่น