การบริหารความเสี่ยงในการขับขี่ (Risk management in driv...
อุบัติเหตุบนท้องถนนในบ้านเราช่วงนี้เกิดขึ้นบ่อยมากทั้งๆ ที่รัฐบาล หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่...
อ่านต่อ
มาตรการว่าด้วยแนวทางปฏิบัติเพื่อการสร้างความปลอดภัยและลดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย
ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา หน่วยงานที่รับผิดชอบต่อการสร้างความปลอดภัยทางท้องถนนในประเทศไทยได้พยายาม เน้นหนักกับอุปกรณ์ ป้องกันความปลอดภัย เช่น การคาดเข็มขัดนิรภัย และ การสวมหมวกกันน็อค อีกทั้งยังได้มีการเพิ่มกฎหมายบังคับว่าด้วยการขับขี่ขณะมึนเมา ซึ่งในช่วงวันหยุดเทศกาล เช่นเทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลปีใหม่ กฎหมายเหล่านี้จะถูกนำมาบังคับใช้อย่างเข้มงวดมากขึ้น แต่พบว่าผลลัพธ์ที่ได้นั้นยังไม่เป็นที่น่าพอใจ และยังมีชีวิตของอีกหลายพันคนถูกคร่าไปจากอุบัติเหตุทางถนน ยังไม่นับรวมถึงผู้บาดเจ็บอีกนับล้าน ปัจจุบันพบว่า ในแต่ละปีนั้นอุบัติเหตุทางถนนจัดเป็นสาเหตุอันดับสองของสาเหตุการเสียชีวิต ทั้งหมด บ่อยครั้งที่ การวิเคราะห์สถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุนั้นถูกปรับเปลี่ยน เพื่อให้มีการยอมรับในประสิทธิภาพของมาตรการนั้นๆ
แผนงานนี้ได้นำเสนอวิธีการวัดหลายแบบ ซึ่งสามารถลดจำนวนตัวเลขของอุบัติเหตุ นั่นก็หมายความว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเหล่านั้นก็จะถูกลดน้อยลง ไปด้วย เป้าหมายของการวัดเหล่านี้จะเน้นที่ความสำคัญด้านสมรรถภาพทางร่างกายและ ทัศนะคติของผู้ขับขี่ โดยการเสียค่าใช้จ่ายเพียงแค่เล็กน้อยในการดำเนินการ
การวัดที่หลากหลายนี้ทำให้ผู้ขับขี่สามารถควบคุมตัวเอง ดังนั้นการยุ่งเกี่ยวกับตำรวจจราจรนั้นก็จะลดน้อยลงด้วย การปฏิบัติตามการวัดเหล่านี้ จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสถิติที่สำคัญ อย่างทันทีทันใด
การวัดที่ 1 : ความสามารถในการมองเห็นเพื่อความปลอดภัย
การวัดที่ 2 : โปรแกรมการประเมินผลความปลอดภัยของผู้ขับขี่
การวัดที่ 3 : โปรแกรมสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการขับขี่และโปรแกรมการปรับเปลี่ยนยานพาหนะ
การวัดที่ 4 : โปรแกรมการศึกษาความปลอดภัยสำหรับผู้เริ่มต้นและการขอใบอนุญาตขับขี่
การวัดที่ 5 : โปรแกรมการตรวจสอบยานพาหนะอย่างมีประสิทธิผล
การวัดที่ 1: ความสามารถในการมองเห็นเพื่อความปลอดภัย
การวัดนี้ให้ความสำคัญกับบทบาทของความสามารถในการมองเห็นในเวลาขับขี่ และเน้นที่ทัศนะคติของคนขับต่อความสำคัญของการมองเห็น หัวใจหลักของโปรแกรมนี้คือการเพิ่มความเข้าใจโดยทั่วไปในบทบาทของการมองเห็น และการถูกมองเห็นในการขับรถ
การวัดที่2: โปรแกรมการประเมินผลความปลอดภัยของผู้ขับขี่
การวัดนี้จะเน้นถึงทัศนะคติของผู้ขับขี่ที่มีต่อความปลอดภัยซึ่งอาจตรงข้ามต่อความรู้เรื่องกฎหมายจราจรของเขา
โปรแกรมนี้จะช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถที่จะเรียนรู้วิธีการขับขี่ที่ปลอดภัยได้ถูกต้อง ซึ่งจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจต่อความรู้ที่ได้และการขับขี่ที่ถูกต้องอย่าง เป็นมืออาชีพ
การวัดที่ 3: โปรแกรมสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการขับขี่และโปรแกรมการปรับเปลี่ยนยานพาหนะ
ร้อยละ 85 ของจำนวนอุบัติเหตุทั้งหมดในประเทศไทยเกี่ยวเนื่องจากการขับขี่เพื่อการทำงาน การวัดนี้จะเน้นที่การฝึกอบรมเพิ่มเติมและการศึกษาในกลวิธีการขับขี่แก่ บุคลากรผู้ซึ่งมีหน้าที่การงานเกี่ยวข้องกับการขับขี่ยานพาหนะของบริษัท เช่น รถจักรยานยนต์ รถรับส่งผู้โดยสาร รถตู้ รถบรรทุกหรือรถเมล์
การวัดที่ 4: โปรแกรมการศึกษาความปลอดภัยสำหรับผู้เริ่มต้นและการขอใบอนุญาตขับขี่
ในปัจจุบัน วิธีการออกใบอนุญาตขับขี่ของประเทศไทยได้มุ่งเน้นที่ความรู้ด้าน กฎหมายจราจรและความสามารถในการควบคุมยานพาหนะ เนื่องจากการที่มีผู้เข้าสู่ระบบขนส่งสูงถึงเกือบ 50,000 คนในแต่ละปี เจ้าหน้าที่ผู้ให้การอนุญาตจึงมีโอกาสน้อยหรือไม่มีโอกาสในการฝึกและทดสอบ ทัศนะคติของผู้ขับขี่ในเรื่องของความปลอดภัย เพราะฉะนั้นหน้าที่การฝึกเพื่อความปลอดภัยควรที่จะถูกโอนไปยังบริษัทเอกชน และใบรับรองของพวกเขาเหล่านั้นควรที่จะได้รับการพิจารณาในกระบวนการออกใบอนุญาตอีกด้วย
การวัดที่ 5: โปรแกรมการตรวจสอบพาหนะอย่างมีประสิทธิผล
ในประเทศไทยผู้ที่มียานพาหนะส่วนตัวนั้น มักมีแนวโน้มที่จะปรับปรุงและแก้ไขยานพาหนะของพวกเขาในเรื่องของสไตล์และ คุณภาพของยานยนต์ แต่มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่คำนึงถึงความปลอดภัย โดยทั่วไปแล้วนั้น ตามหลักความคิดด้านวิศวกรรม โรงงานผู้ผลิตยานยนต์จะให้ความสำคัญในการออกแบบยานพาหนะ ซึ่งโปรมแกรมสำหรับการตรวจสอบยานยนต์นั้นควรมุ่งเน้นทางด้านการบำรุงเพื่อ ความปลอดภัย
บทสรุป
จุดประสงค์ของแผนงานที่เสนอนี้ คือการเปลี่ยนจุดโฟกัสของการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางถนน และการให้เงินสนับสนุนจากโปรแกรมที่ส่งเสริมการใช้ Passive Measures ให้กับผู้ที่ก้าวเข้าสู่การท้าทายทางสมรรถภาพทางกายและทัศนคติที่มี การเข้าร่วมโปรแกรมนี้ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินจำนวนมาก ค่าใช้จ่ายนั้นขึ้นอยู่กับการให้ความร่วมมือของผู้ขับ เจ้าของยานพาหนะ บริษัท และ เจ้าหน้าที่สาธารณะ ผู้ขับขี่จะสามารถบรรลุถึงผลลัพธ์ขั้นสูงสุด เมื่อพวกเขาเริ่มภาคภูมิใจกับความสามรถในการขับขี่อย่างปลอดภัย
แผนงานดังกล่าวนี้มีความคล้ายคลึงกับโปรแกรมการศึกษาที่ดีส่วนใหญ่ที่ สามารถบรรลุถึงผลลัพธ์ที่ดีที่สุดโดยการหลีกเลี่ยงการเน้นในสิ่งที่เป็นเชิง ลบซึ่งรวมถึง การบังคับขู่เข็ญ ในขณะเดียวกันนั้นจะ มุ่งเน้นในสิ่งที่เป็นเชิงบวกนั่นคือสิ่งที่จะผลักดันให้คุณขับขี่ได้ดี และปลอดภัย สำหรับการโฆษณาแล้ว เราสามารถที่จะกล่าวอย่างภาคภูมิใจได้ว่า การที่คนไทยได้เป็นผู้ขับขี่ที่ดีและปลอดภัยนั้นก็เนื่องด้วยการศึกษาที่ได้ รับมา จุดประสงค์หลักในที่นี้เป็นการเสนอที่ผลักดันให้มีการส่งเสริมตนเอง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วก็จะกลายเป็นการควบคุมและสำรวจตนเอง